ad บาร์ header

Right Up Corner

ad left side

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กระจับ หรือ กะจับ หรือ มะแงง หรือ ม่าแงง หรือ พายับ หรือ เขาควาย หรือ Ling Ko(จีน หมายถึง Spiritual Horn)






ชื่อไทย :

กระจับ

ชื่อสามัญ :

Water chestnut

ชื่อวิทยาศาสตร์ :

Trapa bisphinosa Roxb.

ชื่อวงศ์ :

TRAPACEAE

ลักษณะทั่วไป :

เป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู ลักษณะเป็นกอลอยน้ำ ใบมี 2 แบบ คือ ใบใต้น้ำเป็นเส้นยาวคล้ายราก ส่วนใบลอยน้ำรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบใบจักแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างมีสีแดง ก้านใบยาวตรงกลางพองออก ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาว ออกที่โคนก้านใบ มีกลีบดอก 4 กลีบ บานเหนือน้ำ เมื่อเป็นผลจะจมลงใต้น้ำ ผลหรือฝักกระจับมีสีดำขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็งเขางอโค้งคล้ายเขาควาย กระจับชนิดนี้มีปลายเขาแหลม

ประโยชน์ :

เนื้อในของฝักใช้รับประทานได้ แต่ต้องต้มให้สุก เพราะอาจมีพยาธิใบไม้

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บักแงว หรือ ลิ้นจี่อีสาน

หมากตะขบ หรือ บักตากบ

บักเหม่า หรือ มะเม่า








มะเม่า วงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Antidesma sp.

 
ในรูป มันยังไม่สุกจัด  ถ้ามันสุกแล้ว จะเริ่มมีสีแดง จนกลายเป็นม่วง คล้ำ ไปจนสีดำ
ส่วนรสชาติ  มันก็จะเฟดตามสี  สีดำ จะหวาน  สีเขียว สีแดง จะยังส้มๆ (เปรี้ยว)  อยู่

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

สังเครียดกล้อง


สังเครียดกล้อง วงศ์ MELIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aglaia argentea
ชื่ออื่น สังเครียดดอหด (ตรัง) สังขะมา (สุราษฎรธานี)

กะออก


กะออก MORACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ วงศ์
Artocarpus elasticusชื่ออื่น กะออก กะเอาะ (ภาคใต้) ตือกะ (มลายู-ยะลา) เอาะ (ตรัง-ระนอง)

หาดรุม


หาดรุม วงศ์ MORACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus dadah

เฉียงพร้านางแอ หรือ สันพร้านางแอ





ชื่ออื่นๆ : สันพร้านางแอ
แก๊ก วงคด วงคต (ลำปาง) ขิงพร้า เขียงพร้า (ตราด ประจวบคีรีขันธ์) เขียงพร้านางแอ (ชุมพร) คอแห้ง สีฟัน (ภาคใต้) เฉียงพร้า ตะแบง (สุรินทร์) ต่อไส้ สันพร้านางแอ (ภาคกลาง) นกข่อ ส้มป้อง (เชียงใหม่) บงคด (แพ
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Carallia brachiata (Lour.) Merr.
วงศ์ : RHIZOPHORACEAE

เฉียงพร้านางแอเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านตรงเรือนยอดของต้น เปลือกสีดำ ขรุขระเล็กน้อย ใบ เรียงตรงข้าม  ใบเดี่ยว รูปใบหอกแคบ เนื้อใบแข็ง ดกและหนาทึบ  ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีครีม  ผลสด รูปทรงกลม เมื่อสุกสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง  การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง  ประโยชน์ เนื้อไม้มีลายงาม ใช้ทำเครื่องเฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่งภายใน  เปลือก แก้ไข้  แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเสมหะและโลหิต   สมานแผล แก้บิด แก้พิษผิดสำแดง  ต้น แก้ไข้ บำรุงร่างกายและช่วยเจริญอาหาร  เฉียงพร้านางแอ    มีเขตกระจายพันธุ์ทุกภาคของไทย ต่างประเทศพบที่ ศรีลังกา อินเดีย พม่า เวียดนาม ตั้งแต่มาเลเซียถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย และหมู่เกาะโซโลมอน

จำปูริง หรือ จำปูนิง


จำปูริง /จำปูนิง วงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Baccaurea minor

มะไฟกา หรือ มะไฟป่า


มะไฟกา วงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Baccaurea parvifloraชื่ออื่น มะไฟเต่า (สตูล) ส้มไฟป่า ส้มไฟดิน (นครศรีธรรมราช)

ส้มแขก


ส้มแขก วงศ์ GUTTIFERAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia atroviridis
ชื่ออื่น ชะมวงช้าง มะขามแขก ส้มมะวน (ภาคใต้) ส้มควาย (ภาคใต้) ส้มพะงุน (ปัตตานี) อาแซกลูโก (มลายู-ยะลา)

พวาป่า


พวาป่า วงศ์ GUTTIFERAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia forbesii

ชะมวง หรือ กะมวง หรือ มวงส้ม






 ชะมวงป่า

 
Garcinia cowa Roxb.
ชื่ออื่น       กะมวง มวงส้ม หมากโมก กานิ (ภาคใต้)
        ชะมวงเป็นไม้ต้น สูง 1530 . เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูง เปลือกเรียบสีน้ำตาลคล้ำเกือบดำ เปลือกชั้นในสีแดง มียางสีเหลืองซึมออกมาเป็นเม็ดๆ ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมรูปใบหอก ถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 23.5 ซม. ยาว 615 ซม. เรียวไปทางปลายและโคนใบ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบบางไม่เด่นชัด ก้านใบยาว ดอก เล็ก สีเหลืองนวลถึงชมพู หรือแดง ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ผล รูปกลม หรือรูปกลมแกมรูปไข่ กว้าง 2.53 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. สุกสีเหลืองส้ม มีกลีบเลี้ยงขนาดใหญ่ 4 กลีบปิดขั้วผล
        ชะมวงมีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าดิบชื้นที่ลุ่มต่ำและในป่าพรุทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 800900 . ในต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า และมาเลเซีย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์มิถุนายน ผลแก่เดือนเมษายนพฤษภาคม
        รากแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ถอนพิษไข้ แก้บิด ต้นให้ยางสีเหลืองใช้ย้อมผ้า ใบและผลเป็นยาระบาย กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ แก้ไอ ฟอกโลหิต ใบอ่อนสีแดงมีรสเปรี้ยวกินได้

คอเหี้ย หรือ คอแลน หรือ คอแลนเขา



คอแลน วงศ์ SAPINDACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nephelium melliferum
ชื่ออื่น เงาะป่า (ภาคตะวันออก) เงาะป่าเทา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กำลัง (ภาคใต้)

yengo.com

หาเงินกับ www.bumq.com