ad บาร์ header

Right Up Corner

ad left side

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มะแว้ง หรือ มะแว้งขน หรือ มะแว้งดำ หรือ มะแว้งคม



มะแว้งต้นเป็นไม้พุ่ม มีขนและมีหนามแหลม ขึ้นอยู่โดยทั่วไป ใบคล้ายกับใบมะเขือพวง ดอกออกเป็นช่อสีม่วงซีด ผลกลมพอสุกจะเป็นสีน้ำตาล

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หมากอุบข้าว หรือ ฟักข้าว




ชื่ออื่นๆ : ฟักข้าว ผักข้าว ขี้กาเครือ พุคู้เด๊าะ

ฟัก ข้าวเป็นพืชที่ใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลอ่อนรับประทานเป็นผักได้ โดยนำมานึ่งหรือลวกให้สุกทานกับน้ำพริก หรือ นำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค ยอดอ่อนของฟักข้าวมีรสขม ออกหวาน มีเบต้าแคโรทีนค่อนข้างมาก (4,782 ไมโคกรัม/100 กรัม) จึงช่วยบำรุงสายตา

สรรพคุณทางยา : ใบใช้เป็นยาถอนพิษ ใช้เป็นส่วนผสมในยาเขียว รากรสเย็น และรสเบื่อเล็กน้อย ใช้ถอนพิษไข้ทั้งปวง

บักหลอด



วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บักหวดข่า หรือ มะหวด


มะหวด วงศ์ SAPINDACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lepisanthes rubiginosaชื่ออื่น กะซ่ำ มะหวด (ภาคกลาง) กำจำ (ภาคใต้) นำซำ มะจำ (ภาคใต้) หวดคา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สีฮอกน้อย (ภาคเหนือ)

บักส้มมอ

บักค้อ หรือ ลูกตะค้อ

บักเค็ง

หมากหวายป่า หรือ ลูกหวาย

หมากเล็บแมว หรือ เล็บเหยี่ยว หรือ เล็บเยี่ยว หรือ หนามเยี่ยว หรือ บ่าตันขอ

หมากเม็ก

หมากบก หรือ บักบก หรือ กะบก หรือ กระบก


กระบก วงศ์ IRVINGIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Irvingia malayana
ชื่ออื่น กะบก (ภาคกลาง) หมากบก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มะมื่น มื่น (ภาคเหนือ) มะลื่น ( สุโขทัย) หลักกาย (สุรินทร์)

หมากต่องแล่ง

หมากกี่โก่ย หรือ องุ่นป่า

มะขามป้อม

บักหาด หรือ มะหาด หรือ หาดหนุน หรือ ปวกหาด





มะหาด (อังกฤษ: Lakoocha, Monkey jack; ชื่อวิทยาศาสตร์: Artocarpus lacucha) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae ต้นกำเนิดจากภูมิภาคเอเชียใต้ นิยมปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์ทุกส่วนของต้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทราย, ดินร่วนปนทราย, ดินร่วน และ ดินเหนียว มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก ชอบบริเวณที่มีความชื้นสูงและแสงแดดเข้าถึงได้น้อย มักขึ้นกระจายตามป่าดิบทั่วไป

ชื่อ

ในแต่ละภูมิภาค มะหาดจะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันกล่าวคือ ภาคเหนือเรียก "หาดหนุน" ในจังหวัดเชียงใหม่เรียก "ปวกหาด" ภาคกลางเรียก "หาด" ทางภาคใต้เรียก "มะหาด" ในจังหวัดตรังเรียก "มะหาดใบใหญ่" และตั้งแต่จังหวัดนราธิวาสถึงประเทศมาเลเซีย เรียก "กาแย , ตะแป , ตะแปง"

ลักษณะ

มะหาดเป็นยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ความสูง 15-20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลไหม้เป็นลายแตกละเอียด มีส่วนยอดเป็นพุ่มหนาและทึบ
ใบไม้เป็นใบเดี่ยว ขนาดวงรีจนถึงรูปไข่ กว้าง 5-20 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ที่ขอบใบมีริวขึ้นโดยรอบ มีขนขึ้นทั้ง 2 ด้านของใบ
ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และกลายเป็นผลในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ลักษณะดอกจะมีสีขาวอมเหลืองมีขนาดเล็ก
ผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลือง รัศมีจากจุดศูนย์กลางยาว 2.5-5 เซนติเมตร รูปร่างกลมแป้นใหญ่ มีทรงบิ้วเบี้ยวเป็นบางลูก เปลือกนอกผิวขรุขระ เนื้อผลค่อนข้างนุ่ม แต่ละผลมีเมล็ด 1 เมล็ด รูปทรงรี

บักยางป่า

บักเบ็น หรือ หมากเบ็น หรือ บักเบน หรือ หมากเบน หรือ เบ็น หรือ เบน


มะไฟ

ทุเรียน




ทุเรียน...มากประโยชน์

          ทุเรียนได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งผลไม้  ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด มีอย่างน้อย 9 ชนิดที่รับประทานได้ ทุเรียนมีสายพันธุ์ประมาณ 100 สายพันธุ์ให้ผู้บริโภคเลือกรับประทาน  ในประเทศไทยพบทุเรียนอยู่ 5 ชนิด มิใช่ว่าจะมีแต่เพียงเนื้อนุ่ม รสชาติอร่อยเพียงอย่างเดียว คุณค่า อย่างอื่นของทุเรียนก็มีด้วย ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร ไขมัน โปรตีน น้ำ เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอะซิน วิตามินซีแคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
   
          นอกจากนั้นทุเรียนยังเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง ทั้งยังอุดมไปด้วยกำมะถันและ คอเลสเตอรอล ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพราะหากกินเข้าไประดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น อย่างรวดเร็วยังทำให้ร้อนในและรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว ในตำราสมุนไพรไทย กล่าวไว้ว่า ส่วนต่าง ๆ ของทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ ดังนี้

- ใบ มีรสขม,เย็นเฝื่อน มีสรรพคุณแก้ไข้, แก้ดีซ่าน,ขับพยาธิ และทำให้หนองแห้ง
- เนื้อ ทุเรียนมีรสหวาน,ร้อน มีสรรพคุณให้ความร้อน,แก้โรคผิวหนัง,ทำให้ฝีแห้ง และขับพยาธิ
- เปลือก ทุเรียนมีรสฝาดเฝื่อนใช้สมานแผล,แก้น้ำเหลืองเสีย,พุพอง,แก้ฝี,ตาน,ซาง,คุมธาตุ,แก้คางทูม และไล่ยุงและแมลง
- ราก มีรสฝาดขมใช้แก้ไข้และแก้ท้องร่วง
   
          คนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถวบ้านเรา (ลาว เขมร พม่า) เชื่อว่าทุเรียนมีคุณสมบัติให้ความร้อนซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเหงื่อออก มากกว่าปกติ วิธีโบราณที่จะลดผลกระทบจากความร้อนนี้คือ รินน้ำลงในเปลือกทุเรียนหลังจากเนื้อถูกรับประทานแล้วและดื่มน้ำนั้น  อีกวิธีคือรับประทานทุเรียนไปพร้อมกับมังคุด ซึ่งถูกคิดว่ามีคุณสมบัติให้ความเย็น มีความเชื่อโบราณที่ห้ามผู้หญิงมีครรภ์หรือคนที่มีความดันเลือดสูงรับประทาน ทุเรียน
   
          ในบางที่เชื่อว่าทุเรียนจะเป็นอันตรายเมื่อรับประทานร่วมกับกาแฟหรือเครื่อง ดื่มที่มีแอลกอฮอล์  เชื่อว่าห้ามกินเหล้ากับทุเรียน เพราะมัน “ร้อน” ทั้งคู่ เดี๋ยวหลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี คือบางทีรับประทานทุเรียนเพียงอย่างเดียวก็อาจตายได้ หากรับประทานมากเกินไปไม่รู้จักความพอดี ฉะนั้นอะไรที่มันมากเกินไปมันก็ไม่ดี เดินสายกลางดีกว่าพระท่านสอนไว้
                 
          นอกจากนี้แล้ว ทุเรียนยังสามารถนำไปแปรรูปและทำอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด แยมทุเรียน นอกจากอาหารหวานแล้ว อาหารคาวก็นำทุเรียนอ่อนมาแกงได้
  
          เปลือกทุเรียนที่ เราเคยเห็นเขาทิ้งเขาขว้างหลังจากที่ปอกเปลือกให้เราแล้ว เชื่อไหมว่า เขาสามารถนำเปลือกทุเรียนมาทำเป็นกระดาษได้ โดยนักวิจัยจากกลุ่มวิจัยพัฒนาการแปรรูปผลิตผลเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร  ซึ่งเปลือกทุเรียนเมื่อแปรรูปเป็นกระดาษแล้ว  จะมีคุณภาพเด่นเฉพาะตัว คือให้เส้นใยนุ่มและเหนียวกว่าเนื้อกระดาษสา สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้หลายชนิด นอกจากนี้ยังสามารถผสมเส้นใยของผัก ผลไม้ต่าง ๆ กับเปลือกทุเรียนในการทำกระดาษ จะทำให้ได้กระดาษที่มีคุณสมบัติโดดเด่นเฉพาะตัวต่างกันไป เช่น เปลือกมังคุดได้สีม่วงธรรมชาติ เปลือกแก้วมังกรจะได้กระดาษสีม่วงธรรมชาติและผิวสัมผัสนุ่ม ใบเตยจะได้กระดาษที่มีกลิ่นหอมและมีสีเขียว หากสนใจทำกระดาษจากเปลือกทุเรียนน่าจะสอบถามได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จ.จันทบุรี นักศึกษาจาก ภาควิชาเทคโนโลยี การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ทำกระดาษจากเยื่อเปลือก ทุเรียนขึ้น มีลวดลายในตัวจากหนามทุเรียน โดดเด่นไม่เหมือนใคร คุณภาพดีเหมาะแก่การนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์

ข่าวสารจาก: http://www.vcharkarn.com/varticle/38967

yengo.com

หาเงินกับ www.bumq.com