ad บาร์ header

Right Up Corner

ad left side

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลูกู

 
ลูกู เป็นผลไม้ทางภาคใต้ของไทย
บ้างก็เรียก ลองกองป่า ลักษณะผลคล้ายกับ ลองกอง
แต่ผลใหญ่กว่า ทั้งนี้ลูกู เนื้อมีกลิ่นฉุน ฉ่ำน้ำ มีเมล็ดมาก
มักนิยมนำมาปลูกเป็นต้นตอของลองกองในการขยายพันธุ์
ชื่อวิทยาศาสตร์Aglaia dookkoo Griff.



มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งล้นเกล้าฯทั้ง 2พระองค์
เสด็จเยี่ยมราษฏรทางภาคใต้
พระองค์ท่านทอดพระเนตรเห็นผลไม้ชนิดนี้
จึงตรัสถามว่า ผลไม้นี้ เรียกว่าอะไร

ชาวบ้านก็อึกอักๆ แล้วก็ตอบ
" ลูกระหม่อม.. พระเจ้าค่ะ "

น้อยโหน่ง


น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Annona reticulata L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกคล้ายดอกน้อยหน่า แต่ผลโตกว่า เปลือกบางแต่เหนียว ค่อนข้างเรียบ ไม่นูนเป็นตา ๆ สีเขียวจาง ๆ ปนสีแดงเรื่อ ๆ เนื้อในผลหนาขาว รสหวานไม่สนิทเหมือนน้อยหน่า มีเมล็ดมาก.

ใบสด ต้มเอาน้ำทำเป็นสีย้อมผ้าติดทนนาน
น้อยโหน่ง หรือ CUSTARD APPLE, BUL-LOCK’S HERT, ANNONA RETICULATA LINN อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 6-8 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับเป็นรูปใบหอก ปลายและโคนใบแหลมเขียวสด
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือออกเป็นช่อกระจุก 2-3 ดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว เนื้อกลีบค่อนข้างหนาเหมือนกลีบดอกน้อยหน่า หรือดอกบุหงา มีกลีบดอก 3 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอมเอียนๆ ซึ่งบางคนชื่นชอบกลิ่นดังกล่าว แต่บางคนไม่ชอบ ผล รูปกลม ลักษณะคล้ายผลมะฮอกกานี โตขนาดผล มะขวิดย่อมๆ หรือกลมรูปทรงหัวใจ ผิวผลเรียบ ไม่มีตาโปนตามเปลือก เมื่อผลสุกจะเป็นสีแดงอมน้ำตาลเข้มน่าชมมาก
เนื้อในมีรสหวาน รับประทานได้ แต่กลิ่นจะฉุนไม่เหมือนน้อยหน่า จึงทำให้คนไม่ชอบรับประทาน ส่วนผมนั้นถือว่าอร่อยดี ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง นิยมปลูกมาแต่โบราณ ตามร่องสวน หัวไร่ปลายนาทั่วไป นอกจากชื่อ น้อยโหน่ง แล้ว ยังมีชื่ออื่นเรียกอีกคือ น้อยหนัง (ใต้) มะดาก (เพชรบุรี) มะเนียงแฮ้ง มะโหน่ง (เหนือ) และ หนอนลาว (อุบลฯ) ปลูกได้ในดินทั่วไป
นอกจาก นิยมปลูกเพื่อรับประทานผลสุกแล้ว ในยุคสมัยก่อนนิยมปลูกเพื่อใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรใช้ในครัวเรือนด้วย โดยใน ตำรายาไทย ใช้ผลดิบซึ่งมีรสชาติฝาด กินแก้ท้องร่วง แก้บิด ขับพยาธิในร่างกาย ใบตำพอกแก้ฟกบวม และฆ่าพยาธิที่ผิวหนัง เช่น กลาก เกลื้อน หิด เรื้อน คุดทะราด เป็นต้น
ชาวบ้าน สมัยก่อนเอาผลดิบ และใบสด ต้มเอาน้ำทำเป็นสีย้อมผ้า ให้สีดำ และสีน้ำเงิน สวยงามมาก ที่สำคัญเมื่อย้อมผ้าแล้วจะติดทนนานด้วย

มะเกลือ หรือ บักเกลือ


ลำเจียก-ปาหนัน หรือ ลังค่าย

ลูกจัน หรือ บักจัน



ลูกจันทร์ กลิ่นหอม ตอนเรียนหนังสือชอบพกไปดมเล่นในห้องเรียน

ส่วนลูกจันทน์...เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แก่นและเนื้อไม้มีกลิ่นหอม
มีน้ำมันหอมกลั่นออกจากเนื้อไม้ได้ เรียกว่าน้ำมันจันทน์ ลูกกลมและยาวคล้ายเม็ดมะกอก
เปลือกแข็ง สีค่อนข้างดำคล้ายลูกกระ ในประเทศไทย เนื้อในเมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนเผ็ดร้อน
จันทน์เทศต้นสูง 25-50 ฟุต

   ผลแก่เมื่อสุกจะแตกอ้าเห็นเมล็ดใน เมล็ดในเรียกลูกจันทน์เทศ ส่วนเยื่อรกที่หุ้มเมล็ดเรียกว่าดอกจันทน์
ลูกจันทน์มีสองชนิด คือเมล็ดกลมกับเมล็ดยาว อย่างเมล็ดกลมมีดอกมีเกสรตัวเมีย ใช้เมล็ดปลูกทำพันธุ์ได้
อย่างเมล็ดยาวที่ดอกมีเกสรตัวผู้ ใช้เมล็ดทำพันธุ์ไม่ได้และไม่แรงมักเป็นจันน์ที่ขึ้นเอง

หลุมพี

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลูกตาว หรือ ลูกชิด


กระท้อน



กระท้อน วงศ์ MELIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Sandoricum koetjapeชื่ออื่น เตียน ล่อน สะท้อน(ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ) สตียา สะตู (มลายู- นราธิวาส) สะโต (มาลายู-ปัตตานี)

ตะลิงปลิง หรือ เล้งเป้ง

มะขวิด


มะเดื่อ

มะพลับ

ลูกกำไหร


ลูกหยางเหมย



อัมพวา หรือ มะเปรียง หรือ ลูกคางคก



มันคือลูกอัมพวา หรือมะเปรียง เป็นผลไม้พื้นบ้าน
คนที่เคยกินบอกว่ารสชาดเหมือนชมพู่มะหมี่ยว

ต้นอัมพวา หรือต้นมะเปรียง นี้เป็นพืชที่หายาก
บางต้นมีอายุกว่าร้อยปีเป็นพืชดอกที่ออกตามต้น
ดอก จะอยู่รวมกันเป็นกระจุก ก้านดอกมีเกล็ดสีน้ำตาลหุ้มอยู่
ดอกมีสีเหลือง ขาวแซมม่วงเล็กน้อย

ผลมีรูปร่างแบน คล้ายมะม่วง แต่มีรอยหยักไม่น่าดู
ผลอ่อนมีสีน้ำตาลแกมเขียวเมื่อเจริญขึ้นมีสีเหลือง
ผลดิบมีรสคล้ายมะม่วงดิบ เมื่อผ่ากลางจะมีลักษณะเมล็ดคล้ายมะม่วง
ผลสุกขนาด ใหญ่ประมาณ ๒๐๐ กรัม มีสีเหลือง
และเมล็ดสีน้ำตาล เมื่อออกผลแล้วนาน ๒ - ๓ เดือนจึงสุก


เดิมเรียกว่าต้นมะเปรียง เป็นไม้ถิ่นของประเทศมาเลเซียและภาคใต้ของไทย
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เจริญเติบโตได้ดีบริเวณชายน้ำ
ใบมีสีเขียวอ่อนลักษณะยาวโค้ง ปลายใบมน ออกดอกเป็นช่อสีขาวตามลำต้น
และจะพัฒนากลายเป็นผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมของทุกปี
ผลมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว

ชาวภาคใต้เรียกผล"ลูกคางคก" ตามลักษณะของผลที่มีผิวสีเทาปนเขียวและขรุขระ
เมื่อร้อยกว่าปีก่อน มีผู้นำเมล็ดพันธุ์มาปลูกที่อำเภออัมพวา
ชาวบ้านที่นี่เห็นเป็นไม้แปลกและที่อื่นในละแวกใกล้เคียงไม่มี
จึงเรียกว่าต้นอัมพวา ตั้งแต่นั้นมา

ต้นไม้ต้นนี้ โดยเฉพาะชาวอัมพวา ที่จังหวัดสมุทรสงคราม เรียกกันว่า"ต้นอัมพวา"
และเชื่อว่าเป็นไม้ประจำถิ่นของอำเภออัมพวา มานับร้อยๆ ปีแล้ว
ปัจจุบัน ในพื้นที่ดังกล่าวพบเห็นต้นชนิดนี้อยู่ไม่ถึง 10 ต้น ทำให้ไม่ค่อยมีผู้ใดรู้จัก

มะตาด หรือ แอปเปิลมอญ หรือ ส้านกวาง หรือ ส้านท่า หรือ ส้านป้าว หรือ ส้มปรุ หรือ แส้น หรือ บักสั้น หรือ หมากสั้น


ลูกก่อ หรือ บักก่อ หรือ ก่อเหน่ง หรือ ก่อหิน หรือ ก่อหลับ หรือ ก่อข้าว




ก่อเหน่ง วงศ์ FAGACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lithocarpus elegansชื่ออื่น ก่อหม่น(ภาคเหนือ) ก่อหมู่(สงขลา) ตลับเต้าปูน(สตูล) ปิดจุย(เย้า เชียงราย)

ก่อหิน วงศ์ FAGACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lithocarpus encleisacarpusชื่ออื่น ก่อปัน (ปัตตานี) ก่อหิน (นครศรีธรรมราช) ก่อหมู (ตรัง)


ก่อหลับ วงศ์ FAGACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lithocarpus curtisii

ก่อข้าว วงศ์ FAGACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Castanopsis inermisชื่ออื่น ก่อตาหมู (ตรัง)

มะพูด

บักยาง หรือ มะยาง

ลูกฉิ่งป่า


ยาร่วง หรือ เล็ดล่อ

โทะ หรือ พรวด หรือ พรวดกินลูก


โทะ เป็นพืชอยู่ในวงศ์ MYRTACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhodomyrtus tomentosa (Ait.) Hassk.
ชื่อพ้อง : Rhodomyrtus tomentosa (Ait.) Wight, R.paviflora Alston
ถิ่นกำเนิด : Tropical Asia
ชื่อพื้นเมือง:อังกฤษ Downy myrtle, Rose myrtle, Hill goosbery
:อินโดเนเซีย Kemunting, Harendong sabrang
:มาเลเซีย Kemunting karammunting
:กัมพูชา Puech sragan
:เวียตนาม sim
ส่วนประเทศไทย เรียก โทะ (ทางภาคใต้) พรวด(ตราด) พรวดกินลูก (ปราจีนบุรี)
โทะ เป็นไม้ป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติและทำการเพาะปลูกได้ มีแหล่งกำเนิดแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ อยู่ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในอินเดีย ศรีลังกา และทางตอนใต้ของจีน
จะพบน้อยมากนอกเขตพื้นที่เหล่า นี้ เป็นที่น่าสังเกตคือ โทะ จะขึ้นในเขตภูมิประเทศที่ติดทะเล เขตภูมิอากาศตั้งแต่โซนร้อน (Tropic) ไปจนถึงแบบกึ่งโซนร้อน (Subtropic)
ผล นอกจากจะใช้รับประทานได้แล้ว ยังมีสรรพคุณทางยา ในมาเลเซีย ใช้รักษาโรคบิดและโรคท้องร่วง ในอินโดเนเซีย ใช้รากและใบต้มแก้ท้องร่วงและปวดท้องและใช้หลังสตรีคลอดบุตร
นับว่า "โทะ" เป็นไม้ป่าที่คุณค่าที่สมควรได้รับการพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากมีคุณค่าทางอาหารแล้วยังมีสรรพคุณทางยาด้วย การพัฒนาจะเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงและถาวรหากมีการศึกษา "โทะ" อย่างจริงจังนับตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานทางด้านพฤกษศาสตร์(botany) สรีระวิทยาพืช (Plant physiology) ภูมิชีววิทยา (biogeography)การพัฒนาขายพันธุ์เพื่อการผลิตอย่างจริงจัง การวิเคราะห์สารอาหาร คุณค่าทางโภชนาการ และที่น่าพิจารณา คือสกัดสารจากส่วนต่างๆ มาศึกษาทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นยาต่อไปในอนาคต

โทงเทง หรือ บักแข้งขบ

กะหำ หรือ ตูมซ้าง หรือ หัวช้าง

  
ชื่ออื่นๆ : กะหำ ตูมซ้าง หัวช้าง
  ชื่อพฤกษศาสตร์ : Platymitra macrocarpa Boerl.
  วงศ์ : ANNONACEAE


หำช้างเป็นไม้ต้น สูง 20-30 เมตร  ต้น เปลา ตรง  ใบ เดี่ยว รูปไข่แกมรูปใบหอกถึงรูปขอบขนาน  โคนใบมนกว้างและเบี้ยวเล็กน้อย
ปลายใบสอบเรียว หรือเป็นติ่ง  ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง สีเหลือง  ผล ทรงรี ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 1-3 ผล  เปลือกผล หนาและแข็ง 
ผิวขรุขระ สีน้ำตาล  เมล็ด กลมแบน ออกดอกเดือน ธันวาคม- กุมภาพันธุ์  ผลแก่เดือน มีนาคม- เมษายน การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด 
ประโยชน์ เนื้อไม้ ใช้ทำกล่องไม้ขีดไฟ ทำฟืนและฝาบ้านเรือน  หำช้างมีเขตกระจายพันธุ์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของไทย 
ต่างประเทศพบที่ มาเลเซียและ อินโดนีเซีย

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

yengo.com

หาเงินกับ www.bumq.com